ข้อมูลพื้นฐาน

ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนที่ 1 (รหัสลุ่มน้ำหลัก 25) มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 21,172 ตร.กม.
หรือประมาณ 13,232,500 ไร่ ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 6 องศา 26 ลิบดาเหนือ
ถึงเส้นรุ้งที่ 10 องศา 49 ลิบดาเหนือ และระหว่างเส้นแวงที่ 98 องศา 12 ลิบดาตะวันออก
ถึงเส้นแวงที่ 100 องศา 14 ลิบดาตะวันออก

ทิศเหนือติดต่อกับลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก และชายแดนประเทศพม่า
ทิศใต้ติดต่อกับทะเลอันดามันและชายแดนประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันออกติดต่อกับลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก ลุ่มน้ำตาปี และลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ทิศตะวันตกติดต่อกับทะเลอันดามัน

ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนที่ 1 เป็นพื้นที่ติดกับชายฝั่งทะเลอันดามัน
มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาพาดผ่านจากจังหวัดระนองลงไปทางใต้
ผ่านจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสิ้นสุดที่จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นต้นกำเนิด
ของแม่น้ำสาขาต่างๆ โดยทั่วไปเป็นลำน้ำสายสั้นๆ ไหลจากบริเวณเทือกเขา
ทางทิศตะวันออกไหลลงสู่ทะเลอันดามันทางทิศตะวันตกและทิศตะวันตกเฉียงใต้
สภาพภูมิประเทศมีอ่าวและเกาะต่างๆ เช่น เกาะภูเก็ต เกาะตะรุเตา เกาะลันตา
เกาะลิบง เกาะพระทอง และเกาะยาวใหญ่ และมีป่าชายเลนสลับกับหาดทราย
ริมทะเลตั้งแต่จังหวัดระนองลงไปถึงจังหวัดสตูล

การแบ่งลุ่มน้ำสาขา ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกแบ่งเป็นลุ่มน้ำสาขาได้ 13 ลุ่มน้ำสาขา ดังแสดงขอบเขตลุ่มน้ำสาขา มีรายละเอียดดังนี้

สภาพภูมิอากาศ
พื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังมีพายุดีเปรสชั่นและพายุไต้ฝุ่นซึ่งมาจากทะเลจีนใต้ พัดผ่านเข้ามาเป็นครั้งคราว ส่งผลทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ ได้แก่ ฤดูฝนจะเกิดในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤศจิกายน และฤดูแล้ง จะเกิดในช่วงเดือนธันวาคม ถึง เดือนมีนาคม

สรุปตัวแปรภูมิอากาศ ที่สำคัญจากสถานีตรวจอากาศ ของกรมอุตุนิยมวิทยาจำนวน 7 สถานี ที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำ ได้ดังนี้


ปริมาณฝน

ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยผันแปรอยู่ระหว่าง 1,800-4,100 มม. ต่อปี ซึ่งเป็นปริมาณฝนที่ค่อนข้างแตกต่างกันมาก เนื่องจากสภาพของภูมิประเทศที่ทอดยาว จากทิศเหนือลงทิศใต้เป็นระยะทางกว่า 500 กิโลเมตร โดยพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนบนช่วงตั้งแต่ลุ่มน้ำแม่น้ำกระบุรี จนถึงลุ่มน้ำคลองตะกั่วป่าจะมีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก เนื่องจากมีพื้นที่ติดกับทะเลอันดามัน ซึ่งจะรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมพายุจรต่างๆ โดยตรง ส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาที่อยู่ตอนล่างตั้งแต่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกส่วนที่ 2 ลงมาจะมีปริมาณฝนเฉลี่ยน้อยกว่าถึงแม้ว่าจะอยู่ติดกับทะเลอันดามันเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากลมมรสุมและลมพายุจรที่จะพัดเข้าพื้นที่จะถูกแนวเกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซียบังจึงลดความรุนแรงลง และเมื่อพิจารณาในภาพรวมของทั้งลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก พบว่ามีปริมาณฝนเฉลี่ย ทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 2,467.7 มม.ต่อปี โดยเป็นปริมาณฝนในช่วง ฤดูฝน (เม.ย.-พ.ย.) ประมาณร้อยละ 92.02 ของปริมาณฝนรายปีเฉลี่ย และเป็นปริมาณฝนในช่วงฤดูแล้ง (ธ.ค.-มี.ค.) ประมาณร้อยละ 7.98 ของปริมาณฝนรายปีเฉลี่ย และเดือนที่มีปริมาณฝนรายเดือนเฉลี่ยสูงสุดคือเดือนกันยายน ดังแสดงแผนที่เส้นชั้นน้ำฝนเฉลี่ยรายปีของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก สรุปปริมาณฝนรายเดือนเฉลี่ยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ได้ดังนี้

 

โดยปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก คิดเป็นปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อหน่วยพื้นที่รับน้ำเท่ากับ 44.23 ลิตร/วินาที/ตร.กม. เป็นปริมาณน้ำท่าในฤดูฝน (เม.ย. ถึง พ.ย.) 25,940 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 87.8 ของปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย และเป็นปริมาณน้ำท่าในฤดูแล้ง (ธ.ค. ถึง มี.ค.) 3,593 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 12.2 ของปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย ดังแสดงการกระจายรายเดือนของปริมาณน้ำท่า ในแต่ละลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ปริมาณน้ำท่าลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีปริมาณน้ำท่ารวมทั้งลุ่มน้ำ ประมาณ 29,533 ล้าน ลบ.ม./ปี

สรุปปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยของแต่ละลุ่มน้ำสาขา ได้ดังนี้ 

ทรัพยากรป่าไม้

ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนที่ 1 ประกอบด้วยพื้นที่ที่จัดเป็นเขตอนุรักษ์ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า และป่าสงวนแห่งชาติ ที่เป็นป่าอนุรักษ์ (ป่าโซน C) ซึ่งมีพื้นที่บางส่วนทับซ้อนกัน จากข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินของกรมพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2546 พบว่าลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีการบุกรุกพื้นที่ในเขตอนุรักษ์ 2 ลักษณะ คือ การบุกรุกเขตอนุรักษ์ เพื่อทำสวนยางพาราหรือปาล์มน้ำมัน และพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมในเขตอนุรักษ ์ซึ่งเกิดจากการบุกรุกเพื่อทำการเกษตรแล้วปล่อยทิ้งร้างให้เสื่อมโทรม แสดงพื้นที่ บุกรุกในเขตอนุรักษ์ของพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ซึ่งจะเห็นได้ว่า ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีพื้นที่ในเขตอนุรักษ์ 7,442 ตร.กม. คิดเป็นร้อยละ 35 ของพื้นที่ลุ่มน้ำ มีการบุกรุก เขตอนุรักษ์เพื่อทำสวนยางพาราประมาณ 2,241 ตร.กม. คิดเป็นร้อยละ 30 ของพื้นที่ในเขตอนุรักษ์ และมีป่าเสื่อมโทรมในเขตอนุรักษ์ 264 ตร.กม. คิดเป็นร้อยละ 3.6 ของพื้นที่ในเขตอนุรักษ์ โดยกลุ่มลุ่มน้ำสาขา จังหวัดตรังและนครศรีธรรมราชมีการบุกรุกเขตอนุรักษ์ เพื่อทำสวนยางพารา มากที่สุด คือ ร้อยละ 71 ของพื้นที่ในเขตอนุรักษ์ รองลงมาได้แก่ จังหวัดสตูล มีการบุกรุก เขตอนุรักษ์ เพื่อทำสวนยางพารา ร้อยละ 35 ของพื้นที่ในเขตอนุรักษ์ สำหรับการใช้ที่ดินในเขตป่าเพื่อการเกษตรและป่าเพื่อเศรษฐกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่ราบและดินเหมาะสมในการทำการเกษตร สภาพส่วนใหญ่เปลี่ยน เป็นพื้นที่การเกษตรไปเกือบทั้งหมด ดังนั้น สภาพป่าไม้ที่เหลืออยู่ของภาคใต้ ฝั่งตะวันตกคิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 3.1 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ประชากร และเศรษฐกิจสังคม

ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนที่ 1 ประกอบด้วยประชากรใน 3 จังหวัด ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต ซึ่งมีจำนวนประชากรในปี พ.ศ. 2548 สภาพเศรษฐกิจในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก พบว่ามีผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัว (Per capita GPP) จากจังหวัดที่มีค่าสูงสุดไปยังจังหวัดที่มีค่าต่ำสุดได้ดังนี้ คือ จังหวัดภูเก็ต พังงา ระนอง โดยมีเท่ากับ 182,543, 85,946, และ63,246 บาทต่อคนต่อปีตามลำดับลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกส่วนที่ 1 (ระนอง พังงา และภูเก็ต) จากประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ของแต่ละจังหวัดในลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนที่ 1 ที่เห็นการท่องเที่ยว เป็นประเด็นสำคัญลำดับต้นสนับสนุนให้มีการเพิ่มมูลค่า สินค้าการเกษตรและการเป็นกลุ่มธุรกิจการค้ากับต่างประเทศ

 

สภาพทั่วไปของจังหวัดระนอง

1. ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์
จังหวัดระนองเป็นจังหวัดภาคใต้ตอนบน ด้านทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามัน และประเทศพม่า โดยมีระยะทางจากกรุงเทพมหานครผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ( ถนนเพชรเกษม ) ประมาณ 568 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 3,298.045 ตารางกิโลเมตร ( 2,061,278 ไร่ ) เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 60 ของประเทศไทย เป็นพื้นที่ราบ 14% และภูเขา 86% มีเกาะใหญ่น้อยในทะเล อันดามัน จำนวน 62 เกาะ และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอเมือง,อำเภอสวี,อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร และอำเภอไชยา , อำเภอท่าฉาง , อำเภอบ้านตาขุน และกิ่งอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และอำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศพม่า และทะเลอันดามัน

 

2. ลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดระนองมีลักษณะรูปร่างเรียวยาวแคบจากทิศเหนือสุดจดใต้สุดยาว 169 กิโลเมตร มีส่วนที่กว้างที่สุดที่เป็นพื้นดิน ประมาณ 25 กิโลเมตร และมีส่วนที่แคบที่สุด 9 กิโลเมตร ลักษณะ ภูมิประเทศ
ประกอบด้วย ทิวเขา หุบเขาสลับซับซ้อน และเป็นป่าปกคลุม ทางทิศตะวันออกของจังหวัด พื้นที่ลาดเอียงลงสู่ทะเลอันดามันทางทิศตะวันตก ภูเขาที่สูงที่สุดของจังหวัด คือ ภูเขาพ่อตาโชงโดงสูง 1,700 ฟุ

        

ตารางแสดงลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่จังหวัดระนอง

3.  ลักษณะภูมิอากาศ
     3.1 อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์

จังหวัดระนองได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้งสองฤดู ทำให้ได้รับไอน้ำและความชุ่มชื้นมาก อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 28.01 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35.13 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.16 องศาเซลเซียส เดือนเมษายน เป็นเดือนที่มีอากาศร้อนที่สุด เคยตรวจวัดอุณหภูมิสูงสุดได้ที่ 39.6 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2516 และอุณหภูมิต่ำสุด ได้ที่ 13.70 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2499 นอกจากนี้อิทธิพลของมรสุมทั้งสองฤดู ทำให้บริเวณจังหวัดมีความชุ่มชื้นและความชื้นสัมพัทธ์สูงเป็นเวลานาน โดยความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย ตลอดปีประมาณ 77.05% ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดเฉลี่ย 95% ต่ำสุดเฉลี่ย 46.90%

    3.2 ลมมรสุมและลมพายุเขตร้อน
ลมมรสุม ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลอมประเทศไทย ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลาง เป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตรมรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดีย มาสู่ประเทศไทย ทำให้มี เมฆมาก และฝนตกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดระนองและเทือกเขา ด้านรับลม จะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น พายุเขตร้อน มีชื่อเรียก แตกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด ส่วนที่มีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศของประเทศไทย ส่วนใหญ่
มีแหล่ง กำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้ เนื่องจากประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างบริเวณแหล่งกำเนิดของพายุหมุนเขตร้อน ทั้ง 2 ด้าน ด้านตะวันออก คือ มหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลจีนใต้ ส่วนด้านตะวันตก คือ อ่างเบงกอลและทะเลอันดามัน โดยพายุมีโอกาสเคลื่อนจากมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเล จีนใต้เข้าสู่ประเทศไทย ทางด้านตะวันออกมากกว่าตะวันตก โดยเฉพาะจังหวัดระนอง เป็นแนวที่พายุมีโอกาส เคลื่อนผ่านจากตะวันออกสู่ทะเลอันดามันหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 พายุหมุ่ยฟ้า ได้เคลื่อนผ่าน แต่ขนาดและความเร็วลดลงไปมากทำให้ได้รับความเสียหาย หรือมีผลกระทบ เพียงเล็กน้อย

   3.3 ลักษณะฤดูกาล
ฤดูกาลของจังหวัดระนอง แบ่งตามลักษณะลมฟ้าอากาศของประเทศไทยออกได้เป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ระยะนี้เป็นช่วงว่างของฤดูมรสุม จะมีลมจากทิศตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้อากาศร้อนทั่วไป อากาศจะร้อนที่สุดในเดือนเมษายน แต่ไม่ร้อนมากนัก เนื่องจากภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรอยู่ใกล้ทะเล กระแสลมและไอน้ำจากทะเลทำให้อากาศกลายความร้อนลงไปมาก ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึง กลางเดือนตุลาคม จะมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมประเทศไทย และร่องความกดอากาศต่ำจะพาดผ่านภาคใต้เป็นระยะ ๆ อีกด้วย จึงทำให้มีฝนตกมากตลอดฤดู และเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม จะมีฝนตกชุกที่สุดในรอบปี ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในระยะนี้จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเย็นและแห้งจากประเทศจีนพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไป และมีอากาศหนาวเย็น แต่เนื่องจากจังหวัดระนองอยู่ใกล้ทะเลอุณหภูมิจึงลดลงเล็กน้อยเป็นครั้งคราว อากาศไม่สู้จะหนาวเย็นมากนัก และตามชายฝั่งจะมีฝนตกทั่วไปแต่มีปริมาณไม่มาก

4. ทรัพยากรธรรมชาติ
    4.1 ดิน
ลักษณะดินของจังหวัดระนอง ไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูกมากนัก เนื่องจากมีลักษณะเป็นดินตื้นระบายน้ำดีเกินไปและมีสภาพเป็นดินเปรี้ยวในบางพื้นที่ เช่น
อำเภอกระบุรี จากข้อมูลของ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระนอง ปี 2547 จากพื้นที่ทั้งหมด 2,061,278 ไร่ สามารถจำแนกตามสภาพ
การใช้ที่ดินได้ดังนี้
(1) พื้นที่ป่าบก 1,027,508 ไร่
(2) พื้นพื้นที่ป่าชายเลน 156,822 ไร่
(3) พื้นที่แหล่งน้ำ 1,085 ไร่
(4) พื้นที่นากุ้ง 6,171 ไร่
(5) พื้นที่ไม่ได้จำแนก 869,692 ไร่

ตารางแสดงพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน จังหวัดระนอง จำแนกรายอำเภอ / กิ่งอำเภอ

4.2 ป่าไม้
จังหวัดระนองมีป่าไม้อยู่ 2 ประเภท
(1) ป่าบก เป็นป่าที่ปรากฏให้เห็นอยู่โดยทั่วไป ปี 2547 จังหวัดระนองมีพื้นที่ป่าบก เหลืออยู่ 1,027,508 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 49.80 ของพื้นที่จังหวัด เมื่อรวมพื้นที่ป่าชายเลนอีก จำนวน 156,822 ไร่ แล้วจะมีพื้นที่ป่าทั้งสิ้น 1,184,330 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 57.40 ของพื้นที่จังหวัดทั้งหมด
(2) ป่าชายเลน จังหวัดระนองอยู่ติดกับทะเลอันดามัน ชายฝั่งมีน้ำทะเลท่วมถึง ทำให้ เกิดสภาพป่าอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ป่าชายเลน เป็นป่าที่มีสภาพทางนิเวศน์วิทยา ที่สำคัญมาก เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน มีไม้ที่สำคัญ ได้แก่ โกงกาง ปรง ถั่ว ตะบูน ประสัก และอื่น ๆ จากภาพถ่ายดาวเทียม
ปี 2546 จังหวัดระนองมีพื้นที่ป่าชายเลนที่คงสภาพประมาณ 158,301.25 ไร่ คิดเป็น 8.09 % ของพื้นที่จังหวัด แต่ในปี 2547 มีเนื้อที่ป่าชายเลนเหลืออยู่ 156,822 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.61

4.3 แหล่งน้ำ
แหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดระนอง
จังหวัดระนอง มีแม่น้ำลำคลองที่เกิดจากเทือกเขาทางด้านทิศตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นทางน้ำสายสั้น ๆ ไหลลงสู่ทะเลอันดามันทางด้านทิศตะวันตกลำน้ำสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำกระบุรี เป็นแม่น้ำสายสำคัญกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทย และประเทศ สหภาพเมียนม่าร์ ต้นน้ำเกิดจากเขาตุ่น และเขาจอมแหทางทิศเหนือไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่บริเวณตำบลปากน้ำ จังหวัดระนอง ความยาวประมาณ 95 กิโลเมตร 

คลองลำเลียง ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาบางใหญ่ และเขาแดนทางทิศเหนือ ไหลลงสู่แม่น้ำ กระบุรีที่บ้านลำเลียง ความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
คลองปากจั่น ต้นน้ำเกิดจากเขาปลายคลองบางนาทางทิศเหนือ ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี ที่บ้านนาน้อย ความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
คลองวัน ต้นน้ำเกิดจากเขาหินลุทางทิศเหนือของจังหวัด ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี ที่บ้านทับหลี ความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
คลองกระบุรี ต้นน้ำเกิดจากเขาผักแว่นเขตจังหวัดชุมพร - จังหวัดระนอง ไหลผ่านอำเภอกระบุรี ลงสู่แม่น้ำกระบุรีที่บ้านน้ำจืด อำเภอกระบุรี ความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
คลองละอุ่น ต้นน้ำเกิดจากเขาห้วยเสียด และเขาหินด่างทางทิศตะวันออก ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี ที่บ้านเขาฝาชี ความยาวประมาณ 50 กิโลเมตร
คลองหาดส้มแป้น ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาจอมแหลม และเขานมสาว ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรีที่บ้านเกาะกลาง ความยาวประมาณ 19 กิโลเมตร
คลองกะเปอร์ ต้นน้ำเกิดจากเขายายหม่อน ไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่บ้านบางลำพู ความยาวประมาณ 32 กิโลเมตร
คลองนาคา ต้นน้ำเกิดจากเขานาคา และเขาพระหมี ไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่บ้านนาพรุ ความยาวประมาณ 30 กิโลเมตร
คลองกำพวน ต้นน้ำเกิดจากเขาพระหมี ไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่บ้านกำพวน ความยาวประมาณ 19 กิโลเมตร
คลองบางริ้น ต้นน้ำเกิดจากเขานมสาว และเขาพ่อตาเขาสูง ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี ที่บ้านบางริ้น ความยาวประมาณ 25 กิโลเมตร
คลองละออง ต้นน้ำเกิดจากเขานมสาว ไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่บ้านละออง ความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร
คลองราชกรูด ต้นน้ำเกิดจากเขาพ่อตาโชงโดง ไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่บ้านราชกรูด ความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร

5. ผังเมืองและการใช้ที่ดิน
สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดระนอง ได้วางผังเมืองรวม โดยออกกฎกระทรวงใช้บังคับในพื้นที่จังหวัดระนอง ครอบคลุมพื้นที่ 19.836 ตร.กม. ซึ่งประกอบด้วย ตำบลบางนอน ตำบลเขานิเวศน์ ตำบลบางริ้น และตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระนอง เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2533 ปัจจุบัน ประกาศใช้ฉบับที่ 382
ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนที่ 61 ก จากวันที่ 16 กันยายน 2541 ถึง 15 กันยายน 2546 รูปแบบการพัฒนาการใช้ที่ดินของจังหวัดระนองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนสำคัญ คือ
(1) ส่วนที่เป็นเขตสงวน มีความจำเป็นที่จะต้องเก็บรักษาไว้ เพื่อความสมดุลของระบบนิเวศ และสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ ทางด้าน
ตะวันออกของจังหวัด และทางด้านตะวันตกบางส่วน
(2) ส่วนที่เป็นเขตอนุรักษ์ เป็นเขตที่จำเป็นต้องรักษาธรรมชาติให้คงอยู่หรือบูรณะให้กลับคืนสู่สภาพธรรมชาติเดิม เพื่อความสมดุลย์ของระบบนิเวศน์
(3) ส่วนที่เป็นเขตพัฒนา เป็นเขตที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งแบ่งเป็นเขตชุมชนเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ซึ่งมีข้อจำกัด เนื่องจากพื้นที่ในเขตพัฒนามีน้อย

6.โครงสร้างพื้นฐาน
    6.1 การคมนาคม

          ทางรถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายธนบุรี - ปากท่อ ระยะทาง 90 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4 ( ถนนเพชรเกษม ) ผ่านเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ถึง สี่แยกปฐมพร ( ชุมพร ) เลี้ยวขวาไปจนถึงจังหวัดระนอง รวมระยะทาง 568 กิโลเมตร

         ทางรถไฟ
จากกรุงเทพฯ ไม่มีรถไฟไประนองโดยตรง นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเดินทางโดยรถไฟ สามารถลงรถไฟที่สถานีรถไฟชุมพร แล้วต่อรถโดยสารประจำทาง
ชุมพร - ระนอง ระยะทาง 122 กิโลเมตร
         รถโดยสารประจำทาง
บริษัทขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถโดยสารปรับอากาศ และรถโดยสารประจำทาง ระหว่างกรุงเทพฯ - ระนอง ทุกวัน ๆ ละ 7 เที่ยว ตั้งแต่เวลา 08.40 - 21.45 น.

         ทางอากาศ
บริษัทแอร์เอเชีย บริการเที่ยวบินเส้นทางกรุงเทพฯ - ระนอง สัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 1 เที่ยว เวลา 13.15 น. และระนอง - กรุงเทพฯ เวลา 15.05 น. ใช้เวลาในการเดินทาง 1 ชั่วโมง 10 นาที

        การคมนาคมภายในเมืองระนอง
เส้นทางคมนาคมภายในจังหวัด มีถนนลาดยางของทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงจังหวัดสามารถติดต่อกันได้สะดวกทุกอำเภอ และถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก
ของเทศบาลเมืองระนอง จำนวน 13 สาย คือ ท่าเมือง เรืองราษฎร์ ชาติเฉลิม เพิ่มผล ชลระอุ ลุวัง กำลังทรัพย์ ดับคดี ทวีสินค้า ผาดาด ราษฎร์พาณิช กิจผดุง บำรุงสถาน ที่สามารถติดต่อกันได้สะดวก ในเขตเทศบาลเมืองระนอง การเดินทางภายในจังหวัดระนองจะมีรถสองแถวบริการในเขตเทศบาลเมือง และวิ่งรอบเมืองไปบ่อน้ำร้อนและโรงแรมจันทร์สมฮอทสปา การเดินทางระหว่างต่างอำเภอของจังหวัดระนองมีรถสองแถวขนาดใหญ่เป็นพาหนะหลัก หรือ อาจจะไปใช้บริการรถโดยสารที่วิ่งระหว่าง จังหวัดที่สถานีขนส่ง มีบริการให้เช่ารถยนต์และรถมอเตอร์ไซด์สำหรับผู้ต้องการความเป็นส่วนตัว หรืออาจจะเช่าเหมารถตู้พร้อมคนขับ สำหรับผู้ที่มากันเป็นหมู่คณะ นอกจากนั้นการเดินทางจากจังหวัดระนองไปจังหวัดใกล้เคียงสามารถขึ้นรถที่สถานีขนส่งจังหวัดระนอง ซึ่งมีรถโดยสารประจำทางไปยังชุมพร หลังสวน สุราษฎร์ธานี ตะกั่วป่า และภูเก็ต

การคมนาคมภายในตัวเมืองระนอง ใช้รถสองแถวโดยสารวิ่งรอบเมือง ดังนี้
สายที่ 1 : ตลาดท่าเมือง - หมู่บ้านกิจติมา
สายที่ 2 : รอบเมือง - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระนอง
สายที่ 3 : บ้านปากคลอง - สามแยกเขาพริกไทย
สายที่ 4 : บ้านปากคลอง - บ้านบางนอน
สายที่ 5 : หมู่บ้านพรเทพ - ท่าเทียบเรือชาวเกาะ
สายที่ 6 : หมู่บ้านปากคลอง - โรงเรียนสตรีระนอง

การคมนาคมจากจังหวัดระนองไปจังหวัดใกล้เคียง มีรถบัสประจำทางรถธรรมดา รถปรับอากาศ ตามเส้นทางดังนี้
ระนอง - ชุมพร ระยะทาง 122 กิโลเมตร
ระนอง - หาดใหญ่ ระยะทาง 508 กิโลเมตร
ระนอง - ตะกั่วป่า ระยะทาง 174 กิโลเมตร
ระนอง - หลังสวน - สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 223 กิโลเมตร
ระนอง - ตะกั่วป่า - ภูเก็ต ระยะทาง 300 กิโลเมตร
ระนอง - กระบี่ ระยะทาง 318 กิโลเมตร
ระนอง - นครศรีธรรมราช ระยะทาง 356 กิโลเมตร 

การเดินทางทางน้ำไปเกาะช้างและเกาะพยาม 
ช่วงเวลาที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเกาะเป็นช่วงเดือนมกราคม - เมษายน เพราะเป็นช่วงที่ไม่มีมรสุม การเดินทางมีความปลอดภัยกว่าเรือ จะมีให้บริการ 2 เที่ยว เช้า เวลา 9.00 น. และบ่าย เวลา 15.00 น. ค่าโดยสารคนละ 60 บาท

จำนวนยานยนต์ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ จำแนกตามประเภท พ.ศ.2543 – 2547

จำแนกตามประเภท พ.ศ.2544 - 2548

 

    6.2 การไฟฟ้า
จังหวัดระนองมีจำนวนการไฟฟ้าทั้งหมด 4 แห่ง คือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดระนอง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอกะเปอร์ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอละอุ่น และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอพะโต๊ะ ( จังหวัดชุมพร ) มีพื้นที่รับผิดชอบ 44,263 ครัวเรือน มีไฟฟ้าใช้ 43,005 ครัวเรือน ไม่มีไฟฟ้าใช้ 1,258 ครัวเรือน โดยพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอกะเปอร์ และกิ่งอำเภอสุขสำราญ อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดระนอง ส่วนอำเภอกระบุรีและอำเภอละอุ่น อยู่ในความรับผิดชอบของ 2 หน่วยงาน คือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดระนอง ประมาณ 96% และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชุมพร 4% คือ พื้นที่อำเภอกระบุรี เฉพาะตำบลลำเลียง ม.1 - ม.11 ตำบลน้ำจืด ม.4 -ม.8 และตำบลบางใหญ่ ม.1 - ม.5 ( ส่วนที่เหลือ อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชุมพร ) และอำเภอละอุ่น เฉพาะ ตำบลละอุ่นเหนือ ตำบลละอุ่นใต้ ตำบลบางพระเหนือ และตำบลบางพระใต้ ( ตำบลในวงเหนือ และตำบลในวงใต้ อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชุมพร ) การกระจายเขตระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดระนอง ได้มีโครงการขยายเขตระบบไฟฟ้าให้กับราษฎร ทุกครัวเรือน ได้มีไฟฟ้าใช้ภายในปี 2548 อย่างพร้อมเพรียงกัน ตามนโยบายของรัฐบาล ดังนี้

1. โครงการไฟฟ้าชนบทระยะที่ 3 ทำการขยายเขตระบบไฟฟ้าโดยการปักเสา - พาดสาย สำหรับค่าใช้จ่ายลงทุนเฉลี่ยไม่เกิน 30,000 บาท ต่อครัวเรือน
2. การติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังแสงอาทิตย์ โดยมุ่งเน้นพื้นที่ที่ยังไม่สามารถ ปักเสา - พาดสายเข้าไปได้ เช่น ในเขตป่าสงวน พื้นที่ลุ่มน้ำ 1 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตทหาร เขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นเขตหวงห้าม และเขตพื้นที่ที่ขยายเข้าไปแล้วต้องลงทุนสูงมากอย่างไรก็ตาม ราษฎรที่ได้รับการติดตั้งระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ไปแล้ว หากในอนาคตชุมชนมีความเจริญขึ้น หรือมีปัจจัยอื่นที่เอื้อต่อการขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้าด้วยวิธีปักเสา - พาดสาย รวมทั้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีความพร้อมทางด้านงบประมาณ ราษฎรดังกล่าวก็มีโอกาสที่จะได้รับการ ขยายเขตไฟฟ้าโดยวิธีปักเสา - พาดสายเช่นเดียวกัน สำหรับระบบที่ผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ติดตั้งไว้แล้วจะได้ย้ายไปติดตั้งให้กับครัวเรือนที่เกิดใหม่ ซึ่งเป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ที่จะดำเนินการต่อไป

ตารางแสดงข้อมูลจำนวนหมู่บ้านและครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ ของจังหวัดระนอง จำแนกรายอำเภอ / กิ่งอำเภอ ประจำเดือนมกราคม 2548

หมายเหตุ
1. อำเภอเมืองที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ 5 หมู่บ้าน เนื่องจากพื้นที่เป็นเกาะไม่สามารถขยายเขตระบบไฟฟ้าเข้าไปได้ คือ เกาะพยาม เกาะช้าง เกาะเหลา เกาะสินไห และเกาะหาดทรายดำ
2. กิ่งอำเภอสุขสำราญ ไม่มีไฟฟ้าใช้ 1 หมู่บ้าน คือ บ้านแหลมนาว เนื่องจากเป็นวนอุทยาน ไม่สามารถขยายเขตระบบไฟฟ้าเข้าไปได้
3. สำหรับราษฎรที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดระนองได้จัดเข้าโครงการผลิตกระแสไฟฟ้า ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ( Solar Home System ) ไว้แล้ว และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ครบทุกครัวเรือนเมื่อเดือนธันวาคม 2548 แล้ว

6.3 ระบบน้ำประปา
(1) จังหวัดระนอง มีจำนวนหมู่บ้านที่มีน้ำประปาใช้ 135 หมู่บ้าน ไม่มีน้ำประปาใช้ 27 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 88.33 และ 16.67 ของหมู่บ้านทั้งหมด ตามลำดับ (จากข้อมูล กชช. 2 ค ปี 2544)
(2) ประปาในเขตเมือง ปี 2545 จังหวัดระนองมีจำนวนที่ทำการประปา 1 แห่ง ซึ่งจำหน่ายน้ำในเขตเทศบาล 1 เขต มีผู้ใช้น้ำ 9,831 ราย ปริมาณน้ำผลิตได้ประมาณ 300,000 ลบ.ม. / เดือน ปริมาณน้ำจำหน่ายได้ 240,000 ลบ.ม./เดือน

6.4 ระบบสื่อสารและโทรคมนาคม
(1) โทรศัพท์
- บริษัท TT&T ติดตั้งให้บริการโทรศัพท์สาธารณะทั้งหมด 68 เลขหมาย
- อำเภอเมือง 58 เลขหมาย
- เขาฝาชี 2 เลขหมาย
- ราชกรูด 2 เลขหมาย
- หงาว 5 เลขหมาย
- ตำบลปากจั่น อำเภอกระบุรี 1 เลขหมาย

สถานภาพการให้บริการประจำปี 2544 - 2548

(2) สถานีวิทยุและโทรทัศน์
จังหวัดระนองมีสถานีวิทยุกระจายเสียงหลักเพื่อเผยแพร่ข่าวสารและการบันเทิง 3 สถานี
     (2.1) บริษัทองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (มหาชน) สาขาระนอง ระบบ เอฟ.เอ็ม. ความถี่ 100.5 เมกะเฮิรตซ์
     (2.2) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดระนอง (สวท.) เอฟ.เอ็ม. ความถี่ 107.25 เมกะเฮิรตซ์ และระบบ เอ.เอ็ม. ความถี่ 783 กิโลเฮิรตซ์
     (2.3) สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเพื่อการศึกษา จังหวัดระนอง ระบบ เอฟ.เอ็ม. ความถี่ 105.75 เมกะเฮิรตซ์ สถานีวิทยุชุมชน 7 สถานี สถานีเครื่อง ส่งวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดระนอง (ช่อง 11) 1 แห่ง มีสถานีถ่ายทอดโทรทัศน์ครบทุกช่อง ทุกสถานีตั้งอยู่บนยอดเขาบางนอน หมู่ 1 ตำบลบางนอน อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

(3) ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข มีจำนวน 5 ที่ทำการ และไปรษณีย์อนุญาตเอกชน จำนวน 18 ที่ทำการ ซึ่งให้บริการอยู่ในพื้นที่ จังหวัดระนองทั้งหมด คือ

  • ที่ทำการไปรษณีย์ระนอง รหัสไปรษณีย์ 85000 ดูแลรับผิดชอบให้บริการในเขตท้องที่อำเภอเมือง มี ปณอ. ในกำกับดูแล 8 แห่ง
  • ที่ทำการไปรษณีย์ปากน้ำระนอง รหัสไปรษณีย์ 85001 เป็นไปรษณีย์ชนิดรับฝาก เปิดให้บริการเฉพาะงานบริการหน้าเคาน์เตอร์ ไม่มีการนำจ่ายไปรษณียภัณฑ์หรือพัสดุ ณ ที่อยู่ผู้รับ (งานในส่วนนั้นจะเป็นหน้าที่ของ ปณ.ระนอง)
  • ที่ทำการไปรษณีย์กระบุรี รหัสไปรษณีย์ 85110 ดูแลรับผิดชอบการให้บริการในเขตท้องที่อำเภอกระบุรี มี ปณอ. ในกำกับดูแล 3 แห่ง
  • ที่ทำการไปรษณีย์กะเปอร์ รหัสไปรษณีย์ 85120 ดูแลรับผิดชอบการให้บริการในเขตท้องที่อำเภอกะเปอร์ และกิ่งอำเภอสุขสำราญ มี ปณอ. ในกำกับดูแล 4 แห่ง
  • ที่ทำการไปรษณีย์ละอุ่น รหัสไปรษณีย์ 85130 ดูแลรับผิดชอบการให้บริการในเขตท้องที่อำเภอละอุ่น มี ปณอ. ในกำกับดูแล 3 แห่ง

7. ประชากร เขตการปกครอง
    7.1 ประชากรจังหวัดระนอง
จังหวัดระนอง มีประชากร จำนวน 177,224 คน ( ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 ) แยกเป็น ชาย 92,926 คน หญิง 84,298 คน 59,809 ครัวเรือน พื้นที่ที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่ อำเภอเมืองระนอง จำนวน 68,448 คน 23,653 ครัวเรือน และพื้นที่ที่มีประชากรน้อยที่สุด คือ อำเภอละอุ่น จำนวน 10,224 คน 3,311 ครัวเรือน

รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน รายอำเภอ ณ วันที่ 31 มกราคม 2548

ตารางแสดงจำนวนพื้นที่และจำนวนหน่วยการปกครองจังหวัดระนอง

    7.2 เขตการปกครอง
จังหวัดระนองแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 30 ตำบล 178 หมู่บ้าน
         1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลเมือง 5 เทศบาลตำบล 24 องค์การบริหารส่วนตำบล
         2. สภาตำบล อำเภอกระบุรีมีพื้นที่มากที่สุด กิ่งอำเภอสุขสำราญพื้นที่เล็กที่สุด