ลุ่มน้ำโขง(ตะวันออกเฉียงเหนือ)

แม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

สภาพทั่วไปของพื้นที่ลุ่มน้ำโขง(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ลุ่มน้ำสาขาแต่ละลุ่มน้ำ ทั้ง ๘ จังหวัด มีลุ่มน้ำสาขา ๒๙ ลุ่มน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ ๘ จังหวัด คือ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดเลย จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ

พื้นที่ลุ่มน้ำโขง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ทั้งหมดรวมประมาณ ๔๖,๙๓๒ ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น ๒๙ ลุ่มน้ำสาขา ๕ กลุ่มลุ่มน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ ๙ จังหวัด ได้แก่ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญและอุบลราชธานี ๘๒ อำเภอ ๖๑๘ ตำบล ๕,๖๐๘ หมู่บ้าน พื้นที่ลุ่มน้ำสาขา ขอบเขตลุ่มน้ำและการจัดกลุ่มลุ่มน้ำสามารถแสดงลักษณะเฉพาะของลุ่มน้ำโขง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) คือ ทุกลำน้ำในแต่ละลุ่มน้ำสาขาจะไหลลง แม่น้ำโขง ซึ่งเป็นทางน้ำธรรมชาติระหว่างประเทศ

ลำน้ำส่วนใหญ่ในลุ่มน้ำโขงจะมีความยาวของลำน้ำน้อยกว่า ๕๐ กิโลเมตร และมีความลาดชันของลำน้ำมาก จึงมีการกัดเซาะสูง หากมีฝนตกหนักจะเกิดน้ำป่าไหลหลากรุนแรง พื้นที่การเกษตรจะอยู่บริเวณสองฝั่งของลำน้ำ พื้นที่อาศัยจะอยู่บริเวณตอนกลางและท้ายของลำน้ำ

๑. ลุ่มน้ำสวย พื้นที่ลุ่มน้ำ ๑,๓๓๖.๙๖ ตร.กม. หรือ ๘๓๕,๖๐๑.๐๗ ไร่

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเรียบโดยเฉพาะบริเวณตอนล่างของลุ่มน้ำซึ่งอยู่ทางทิศเหนือใกล้จุดบรรจบแม่น้ำโขง จะมีหนอง บึง กระจายอยู่ทั่วไป ส่วนพื้นที่ตอนบนซึ่งอยู่ทางทิศใต้จะมีลักษณะเป็นพื้นที่ลาดและเนินเตี้ยๆไ เล็กน้อยในพื้นที่ต้นน้ำ และมีลำน้ำสาขาย่อยๆ กระจายอยู่ ครอบคลุมพื้นที่ ๒ จังหวัด คือ จังหวัด

อุดรธานี และหนองคาย มีลุ่มน้ำสาขา ๕ ลุ่มน้ำ คือ ห้วยน้ำสวยตอนบน ห้วยธง ห้วยน้ำสวยตอนกลาง ลำน้ำเพ็ญ ห้วยน้ำสวยตอนล่าง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ มีจำนวนประชากรประมาณ ๒๖๗,๙๒๕ คน(เต็มพื้นที่)

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค

- น้ำท่วม

๒. ลุ่มน้ำโมง พื้นที่ลุ่มน้ำ ๒,๖๔๕.๙๒ ตร.กม. หรือ ๑,๖๕๓,๗๐๒.๑๘ ไร่

ประกอบด้วยส่วนปลายของแนวเทือกเขาภูพานกั้นระหว่างพื้นที่พื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและลุ่มน้ำตอนล่างในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือลงสู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนต้นน้ำของลำน้ำสาขาอื่นๆ ที่อยู่ทางทิศใต้เป็นเพียงเนินเขา และพื้นที่ลาดเท สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบถึงราบเรียบ ครอบคลุมพื้นที่ ๔ จังหวัด คือ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย มีลุ่มน้ำสาขา ๖ ลุ่มน้ำ คือ น้ำโมงตอนบน ห้วยน้ำบน น้ำโมงตอนกลาง ห้วยซีด ห้วยทอน และน้ำโมงตอนล่างจำนวนประชากรเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ มีจำนวนประชากรประมาณ ๓๓๘,๘๔๗ คน

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค

- น้ำท่วม ตลิ่งพังทลาย

- คุณภาพน้ำ

๓. ลุ่มน้ำสาน พื้นที่ลุ่มน้ำ ๘๘๑.๖๕ ตร.กม. หรือ ๕๕๑,๐๓๒.๑๕ ไร่

ประกอบด้วยแนวเขาสูงเกือบตลอดทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะทางทิศใต้ และทิศตะวันออกซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำมีระดับความสูงประมาณ ๑,๓๐๐ ม.รทก. และค่อยๆ ลดลงเทลงมาบริเวณตอนกลางของพื้นที่ซึ่งมีลักษณะเป็นที่ลาดค่อนข้างชัน มีพื้นที่ราบเพียงเล็กน้อยเฉพาะบริเวณริมลำน้ำสายหลัก ได้แก่ ลำน้ำสาน และห้วยน้ำเขามัน ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดเลย มีลุ่มน้ำสาขา ๓ ลุ่มน้ำ คือ ห้วยน้ำเข้ามัน น้ำสานตอนบน และน้ำสานตอนล่างจำนวนประชากรเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ มีจำนวนประชากรประมาณ ๓๗,๘๔๐ คน

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค

- น้ำท่วม ตลิ่งพังทลาย

- มลพิษทางน้ำ

๔. ลุ่มน้ำโสม พื้นที่ลุ่มน้ำ ๑,๑๑๘.๙๕ ตร.กม. หรือ ๖๙๙,๓๔๓.๓๒ ไร่

ประกอบด้วยแนวเขาสูงทางทิศตะวันออกของพื้นที่ โดยแนวเขาทางทิศตะวันตกจะมีระดับความสูงประมาณ ๖๐๐ ม.รทก. ซึ่งสูงกว่าทางทิศตะวันออกที่มีระดับประมาณ ๕๐๐ ม.รทก. จากแนวเขาทั้ง ๒ ด้าน จะค่อยลดหลั่นและลาดเทลงสู่ลำน้ำที่อยู่ตอนกลางพื้นที่ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและพื้นที่ลาดชัน มีพื้นที่ราบไม่มากนักโดยที่ราบส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ตาม ๒ ฝั่งลำน้ำเป็นแห่งๆ ไป ครอบคลุมพื้นที่ ๒ จังหวัด คืออุดรธานี หนองคาย มีลุ่มน้ำสาขา ๓ ลุ่มน้ำ คือแม่น้ำโสมตอนบน ห้วยน้ำราง และห้วยน้ำโสมตอนล่าง ข้อมูลจำนวนประชากรจาก ประมาณ ๘๘,๑๖๓ คน (เต็มพื้นที่)

สภาพปัญหา

- ขาดกฎระเบียบการใช้น้ำ

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค

- น้ำเสีย น้ำท่วม ป่าเสื่อมโทรม

๕. ลุ่มน้ำแม่น้ำโขงส่วนที่ ๓ พื้นที่ลุ่มน้ำ ๖๙๐.๐๑ ตร.กม. หรือ ๔๓๑,๒๕๙.๒๕ ไร่

ประกอบด้วยเขาล้อมรอบทั้งทางด้านทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศตะวันออก มีความสูงประมาณ ๑,๐๐๐ ม.รทก. และค่อยๆ ลาดลงทางทิศเหนือ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขาสูง และเป็นต้นน้ำของลำน้ำสาขาเล็กๆ ที่ลาดชันหลายสายไหลลงสู่ลำน้ำเหืองซึ่งเป็นลำน้ำของแม่น้ำโขงทางทิศเหนือ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเลย มีลุ่มน้ำสาขา ๓ ลุ่มน้ำ คือแม่น้ำโขงส่วนที่ ๓ ตอนบน น้ำหู และแม่น้ำโขงส่วนที่ ๓ ตอนล่าง จำนวนประชากร ๑๕,๑๕๘ คน (เต็มพื้นที่)

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค

- แหล่งน้ำตื้นเขิน

- ป่าต้นน้ำถูกทำลาย ภัยแล้ง

- น้ำท่วมพื้นที่การเกษตร

๖. ลุ่มน้ำแม่น้ำโขงส่วนที่ ๔ พื้นที่ลุ่มน้ำ ๗๙๔.๐๙ ตร.กม. หรือ ๔๙๖,๓๐๘.๒๗ ไร่

ประกอบด้วยแนวเขากระจายตัวอยู่ตลอดทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยเฉพาะแนวเขาทางด้านทิศใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำมีระดับความสูงประมาณ ๖๐๐ ม.รทก. และระดับความสูงของแนวเขาจะค่อยๆ ลดลง ทางทิศเหนือจะเหลือระดับความสูงประมาณ ๓๐๐ ม.รทก. แนวเขาเหล่านี้ก่อให้เกิดลำน้ำสาขาเล็กๆ ที่ลาดชันหลายสายไหลลงสู่ลำน้ำเหืองซึ่งเป็นลำน้ำโขงทางด้านทิศเหนือ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเลย มีลุ่มน้ำสาขา ๓ ลุ่มน้ำ คือแม่น้ำโขงส่วนที่ ๔ ตอนบน น้ำคาน และแม่น้ำโขงส่วนที่ ๔ ตอนล่าง จำนวนประชากร ๔๕,๓๕๑ คน (เต็มพื้นที่)

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค การแย่งน้ำเพื่อการเกษตร

- น้ำตื้นเขิน ตลิ่งพัง

๗. ลุ่มน้ำแม่น้ำโขงส่วนที่ ๕ พื้นที่ลุ่มน้ำ ๑,๗๖๐.๘๔ ตร.กม. หรือ ๑,๑๐๐,๕๒๒.๒๙ ไร่

ประกอบด้วยแนวเขากระจายอยู่เกือบตลอดทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำ โดยมีระดับความสูงประมาณ ๖๐๐ม.รทก. แนวเขาเหล่านี้ก่อให้เกิดลำน้ำสาขาเล็กๆ ที่ลาดชันหลายสายจากทางทิศใต้ไหลลงสู่แม่น้ำโขงทางด้านทิศเหนือ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและพื้นที่ลาดชัน มีพื้นที่ราบไม่มากนัก ครอบคลุมพื้นที่ ๓ จังหวัด คือ เลย อุดรธานี หนองคาย มีลุ่มน้ำสาขา ๔ ลุ่มน้ำ คือ แม่น้ำโขงส่วนที่ ๕ ตอนบน ห้วยน้ำชม ห้วยสะงาว และแม่น้ำโขงส่วนที่ ๕ ตอนล่าง จำนวนประชากร ๙๕,๓๐๗ คน (เต็มพื้นที่)

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร

- ปัญหาน้ำท่วม

- ตลิ่งพัง

๘. ลุ่มน้ำแม่น้ำโขงส่วนที่ ๖ พื้นที่ลุ่มน้ำ ๕๕๓.๔๕ ตร.กม. หรือ ๓๔๕,๙๐๘.๕๖ ไร่

เป็นพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำโขงดังนั้นสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่จึงประกอบด้วยพื้นที่ราบส่วนใหญ่ มีหนอง บึง กระจายอยู่ในพื้นที่ค่อนข้างมาก และมีลำน้ำสายสั้นๆ หลายสายไหลลงสู่แม่น้ำโขงโดยตรง ครอบคลุมพื้นที่ ๒ จังหวัด คือ อุดรธานี หนองคาย มีลุ่มน้ำสาขา ๑ ลุ่มน้ำ คือ แม่น้ำโขงส่วนที่ ๖ จำนวนประชากร ๑๔๗,๔๓๔ คน (เต็มพื้นที่)

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค

- ปัญหาน้ำท่วม

๙. ลุ่มน้ำแม่น้ำโขงส่วนที่ ๗ พื้นที่ลุ่มน้ำ ๒,๕๕๖.๘๕ ตร.กม. หรือ ๑,๔๗๓,๐๓๓.๐๕ ไร่

ขอบเขตของพื้นที่ลุ่มน้ำทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตกจรดแม่น้ำโขง ช่วงกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตรประชาชนลาว ส่วนทางทิศใต้อยู่แนวสันปันน้ำแม่น้ำสงคราม ห้วยคอง ห้วยฮี้ กับลำน้ำสาขาย่อยที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงโดยตรงลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบบริเวณติดแม่น้ำโขง ทางทิศใต้ของพื้นที่ลุ่มน้ำจะเป็นที่ดอน มีที่ราบตามแนวลำน้ำค่อนข้างน้อย ครอบคลุมพื้นที่ ๒ จังหวัด คือ หนองคาย นครพนม มีลุ่มน้ำสาขา ๔ ลุ่มน้ำ คือ แม่น้ำโขงส่วนที่ ๗ ตอนบน แม่น้ำโขงส่วนที่ ๗ ตอนกลาง ห้วยบังบาตร และแม่น้ำโขงส่วนที่ ๗ ตอนล่าง มีประชากร ประมาณ ๓๓๘,๘๔๗ คน (เต็มพื้นที่)

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค น้ำท่วม ตลิ่งพัง

- ขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ

- ขาดการจัดตั้งกลุ่มองค์กรผู้ใช้น้ำ

๑๐. ลุ่มน้ำแม่น้ำโขงส่วนที่ ๘ พื้นที่ลุ่มน้ำ ๑,๑๔๕.๑๗ ตร.กม. หรือ ๗๑๕,๗๒๙.๗๒ ไร่

มีแนวสันปันน้ำความสูงประมาณ ๑๖๐ – ๑๙๐ ม.รทก. เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างลุ่มน้ำย่อย แม่น้ำโขงส่วนที่ ๘ กับลุ่มน้ำย่อยน้ำก่ำตลอดแนวทิศตะวันออกของลุ่มน้ำติกับแม่น้ำโขงในจังหวัดนครพนม ทิศตะวันตกของลุ่มน้ำเป็นต้นกำเนิดลำน้ำสายหลักคือ ห้วยบ่อ ห้วยบังกอ ห้วยบังฮวก พื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนเป็นภูเขาสูง ที่ลาดชัน และลดหลั่นเป็นเนินสูง ตรงกลางเป็นที่ราบถึงลูกคลื่นลอนลาด ตอนล่างเป็นที่ที่ค่อนข้างราบถึงราบเรียบ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครพนม มีลุ่มน้ำสาขา ๓ ลุ่มน้ำ คือ ห้วยบ่อ ห้วยบังกอ ห้วยบังฮวก จำนวนประชากร ๒๑๔,๐๘๖ คน

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค

- น้ำท่วมพื้นที่เกษตร

-การบริหารจัดการน้ำไม่มีประสิทธิภาพ

๑๑. ลุ่มน้ำแม่น้ำโขงส่วนที่ ๙ พื้นที่ลุ่มน้ำ ๔๔๙.๙๒ ตร.กม. หรือ ๒๘๑,๒๐๒.๐๕ ไร่

มีแนวสันปันน้ำความสูงประมาณ ๒๐๐ ม.รทก. เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างลุ่มน้ำย่อยแม่น้ำโขงส่วนที่ ๙ กับลุ่มน้ำย่อยห้วยน้ำก่ำ ลุ่มน้ำย่อยห้วยบางทราย ตลอดแนวทิศตะวันออกของลุ่มน้ำอยู่ติดกับแม่น้ำโขงในจังหวัดมุกดาหาร ทางทิศตะวันตกของลุ่มน้ำเป็นต้นกำเนิดของห้วยชะโนด พื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนเป็นภูเขาสูง ที่ลาดชันและลดหลั่นเป็นเนินสูง ตอนกลางเป็นที่ราบถึงลูกคลื่นลอนลาด ตอนล่างเป็นที่ที่ค่อนค่างราบถึงราบเรียบ ครอบคลุมพื้นที่ ๒ จังหวัด คือ นครพนม มุกดาหารมีลุ่มน้ำสาขา ๑ ลุ่มน้ำ คือ แม่น้ำโขงส่วนที่ ๙ จำนวนประชากร ๖๖,๒๔๓ คน

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค

- น้ำท่วม

- คุณภาพน้ำ

๑๒. ลุ่มน้ำห้วยคอง พื้นที่ลุ่มน้ำ ๗๐๙.๓๑ ตร.กม. หรือ ๔๔๓,๓๒๐.๔๔ ไร่

ขอบเขตลุ่มน้ำทางทิศเหนืออยู่บนแนวสันปันน้ำของห้วยคองกับลำน้ำย่อยที่ไหลลงแม่น้ำโขง ทางทิศตะวันออกอยู่บนแนวสันปันน้ำของห้วยซาวกับห้วยฮี้ ทิศตะวันตกอยู่บนแนวสันปันน้ำของห้วยอังฮ๋า ซึ่งอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงส่วนที่ ๗ ทางทิศใต้อยู่บนแนวสันปันน้ำระหว่างห้วยคองกับห้วยขมิ้นและจุดบรรจบห้วยคองกับแม่น้ำสงคราม ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดหนองคาย มีมีลุ่มน้ำสาขา ๒ ลุ่มน้ำ คือ ห้วยคองสายหลัก และห้วยขาว จำนวนประชากร ๖๓,๘๓๖ คน

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค น้ำท่วม ตลิ่งพัง

- น้ำท่วมพื้นที่ทำการเกษตร

- ไม่มีการปรับปรุงระบบการปลูกพืช

๑๓. ลุ่มน้ำห้วยดาน พื้นที่ลุ่มน้ำ ๖๗๕.๗๗ ตร.กม. หรือ ๔๒๒,๓๕๓.๔๔ ไร่

ขอบเขตของพื้นที่ทางด้านทิศเหนืออยู่บนจุดบรรจบระหว่างห้วยดานกับห้วยหลวง ด้านทิศตะวันออกอยู่บนแนวสันปันน้ำห้วยดานและห้วยหลวง ทางทิศใต้อยู่บนแนวปันลุ่มน้ำโขงอีสานและลุ่มน้ำชี

สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบพื้นที่ราดจากทางทิศใต้และทิศตะวันออกมาทางทิศเหนือ ระดับความสูงของพื้นที่อยู่ที่ ประมาณ ๑๗๐ – ๑๙๐ ม.รทก. ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดอุดรธานี มีลุ่มน้ำสาขา ๒ ลุ่มน้ำ คือ ห้วยดานตอนบน และห้วยดานตอนล่าง จำนวนประชากร ๑๒๑,๒๔๔ คน (เต็มพื้นที่)

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค น้ำท่วม ตลิ่งพัง

- น้ำท่วมพื้นที่ทำการเกษตร

- ไม่มีการปรับปรุงระบบการปลูกพืช

๑๔. ลุ่มน้ำห้วยหลวง พื้นที่ลุ่มน้ำ ๓,๔๑๗.๖๔ ตร.กม. หรือ ๒,๑๓๖,๐๒๓.๐๗ ไร่

ขอบเขตลุ่มน้ำทางเหนือจรดแม่น้ำโขงเขตแดนประเทศไทยและสปป.ลาว ด้านตะวันออกอยู่บนแนวสันปันน้ำระหว่างห้วยหลวงกับแม่น้ำสงคราม และห้วยคอง ด้านทิศตะวันตกและทิศใต้จรดภูเขาภูพานบนแนวสันปันน้ำ ตอนใต้ของลุ่มน้ำมีแนวภูเขาภูพานโอบจากด้านทิศตะวันตกมาถึงทิศใต้ พื้นที่ลาดชันลงมาจนสุดแนวที่เขื่อนห้วยหลวง ครอบคลุมพื้นที่ ๓จังหวัด คือ อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภูมีลุ่มน้ำสาขา ๗ ลุ่มน้ำ คือ ห้วยหลวงส่วนที่ ๑ ห้วยหลวงส่วนที่ ๒ ห้วยหลวงส่วนที่ ๓ ห้วยหลวงส่วนที่ ๔ ห้วยหลวงส่วนที่ ๕ ห้วยเจียมและห้วยหลวงส่วนที่ ๖ จำนวนประชากร ๗๖๕,๘๙๙ คน

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค น้ำท่วม ตลิ่งพัง

- มีการบุกรุกพื้นที่อ่างเก็บน้ำ

- ขาดการบริหารจัดการ

๑๕. ลุ่มน้ำห้วยฮี้ พื้นที่ลุ่มน้ำ ๗๔๓.๖๐ ตร.กม. หรือ ๔๖๔,๗๕๐.๐๔ ไร่

ขอบเขตลุ่มน้ำทางทิศตะวันออกอยู่บนแนวปันน้ำของแนวเขาภูกิ่ว และแนวสันปันน้ำของลำน้ำสาขาของห้วยบังบาตรกับลำน้ำสาขาห้วยทรายใหญ่ ซึ่งไหลไปลงอ่างเก็บน้ำห้วยฮี้ ขอบเขตลุ่มน้ำทางทิศเหนืออยู่บนแนวสันปันน้ำของห้วยฮี้กับลำน้ำสาขาที่ไหลลงกุดทิงใหญ่ ทางทิศตะวันตกอยู่บนแนวสันปันน้ำของห้วยฮี้กับแม่น้ำสงคราม ขอบเขตทิศใต้อยู่บนจุดบรรจบระหว่างห้วยฮี้กับแม่น้ำสงคราม ครอบคลุมพื้นที่ ๒ จังหวัด คือ หนองคาย นครพนม มีลุ่มน้ำสาขา ๓ ลุ่มน้ำ คือ ห้วยฮี้ตอนบน ห้วยทรายใหญ่ ห้วยฮี้ตอนล่าง จำนวนประชากร ๘๕,๑๙๔ คน

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค น้ำท่วม

- น้ำมีสารพิษเจือปนและไม่มีคุณภาพ

- ขาดแผนงานการจัดการให้องค์กร

๑๖. ลุ่มน้ำห้วยน้ำปวน พื้นที่ลุ่มน้ำ ๑,๐๘๔.๐๐ ตร.กม. หรือ ๖๗๗,๔๙๘.๔๕ ไร่

ประกอบด้วยลำน้ำสาขาที่สำคัญ ๒ สาย คือ ลำน้ำสวนซึ่งไหลจากแนวเขาทางทิศเหนือลงสู่ทิศใต้มาบรรจบกับลำน้ำปวนซึ่งไหลจากที่ลาดสูงจากทิศทางเหนือก่อนจะไหลไปบรรจบกับแม่น้ำเลย สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเป็นลาดเทมีความชันไม่มากนักจากต้นน้ำมายังแม่น้ำสายหลัก และมีลักษณะเป็นพื้นที่บริเวณ ๒ ฝั่งลำน้ำสายหลัก ตลอดทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำมีแนวเขาสูงไม่มากนัก ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเลยมีลุ่มน้ำสาขา ๓ ลุ่มน้ำ คือห้วยน้ำสวยห้วยน้ำปวนตอนบน และห้วยน้ำปวนตอนล่าง จำนวนประชากร ๑๐๖,๗๗๕ คน(เต็มพื้นที่)

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภค บริโภค

- น้ำท่วม

- ภัยแล้ง

๑๗. ลุ่มน้ำห้วยน้ำหมัน พื้นที่ลุ่มน้ำ ๖๑๙.๕๙ ตร.กม. หรือ ๓๘๗,๒๔๖.๕๑ ไร่

ประกอบด้วยแนวเขาสูงเกือบตลอดทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำ มีพื้นที่ราบเป็นส่วนน้อยเฉพาะบริเวณลำน้ำหมันซึ่งอยู่ตอนกลางของพื้นที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบแคบๆ ตามแนวลำน้ำจากช่วงกลางของลุ่มน้ำไปจรดลำน้ำเหือง แนวทางแนวเขาทางทิศใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนมีสภาพเป็นภูเขาสูงชันมีระดับความสูง และค่อยลดหลั่นลงมาทางทิศเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำตอนล่างเหลือ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเลย มีลุ่มน้ำสาขา ๒ ลุ่มน้ำ คือ น้ำหมันตอนบน และน้ำหมันตอนล่าง จำนวนประชากร ๓๐,๒๘๔ คน(เต็มพื้นที่)

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภค บริโภค

- น้ำท่วม

- มลพิษทางน้ำ

- ตลิ่งพัง

๑๘. ลุ่มน้ำแม่น้ำเลยตอนล่าง พื้นที่ลุ่มน้ำ ๒,๙๒๒.๓๒ ตร.กม. หรือ ๑,๘๒๖,๔๕๐.๓๒ ไร่

มีแนวเขาสูงชันทางทิศใต้และทิศตะวันตก ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำ และก่อให้เกิดลำน้ำสาขาที่สำคัญหลายสายใด้แก่ น้ำเลย น้ำคู้ น้ำทบ น้ำฮวย น้ำลาย และน้ำหมาน โดยแนวเขาที่มีระดับสูงอยู่ทางทิศใต้ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของน้ำเลยและค่อยๆ ลดหลั่นมาทางทิศเหนือส่วนพื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ำจะเป็นพื้นที่ราบ และที่ลาดผืนใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเลย มีลุ่มน้ำสาขา ๙ ลุ่มน้ำ คือ แม่น้ำเลยส่วนที่ ๑ น้ำคู้ แม่น้ำเลยส่วนที่ ๒ น้ำทบ แม่น้ำเลยส่วนที่ ๓ ห้วยน้ำฮวย ห้วยน้ำลาย ห้วยน้ำหมาน และแม่น้ำเลยส่วนที่ ๔ จำนวนประชากร ๒๖๒,๕๐๗ คน(เต็มพื้นที่)

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภค-บริโภค

-ไม่มีที่ทิ้งขยะ

- น้ำท่วม

- มลพิษทางน้ำ

- ตลิ่งพัง

- ตะกอนในน้ำมีมาก

- เกิดมลพิษทางน้ำ

๑๙. ลุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนบน พื้นที่ลุ่มน้ำ ๓,๒๗๐.๘๑ ตร.กม. หรือ ๒,๐๔๔.๗๒ ไร่

ขอบเขตลุ่มน้ำทางเหนืออยู่บนแนวสันปันน้ำระหว่างแม่น้ำสงครามกับห้วยฮี้ และห้วยคอง ด้านทิศตะวันออกจะแบ่งแม่น้ำสงครามเป็นลุ่มน้ำย่อยแม่น้ำสงครามตอนล่าง ที่จุดบรรจบห้วยคองกับแม่น้ำสงครามด้านทิศตะวันตกอยู่บนแนวสันปันน้ำห้วยหลวงกับแม่น้ำสงคราม ส่วนทางทิศใต้จรดภูเขาภูพานบนแนวสันปันน้ำ พื้นที่โดยทั่วไปบริเวณที่ราบถึงลาดชัน ครอบคลุมพื้นที่ ๓ จังหวัด คือ อุดรธานี หนองคาย สกลนคร มีลุ่มน้ำสาขา ๘ ลุ่มน้ำ คือ แม่น้ำสงครามตอนบนส่วนที่ ๑ ห้วยศาลจอด ห้วยผาลาด ห้วยทวน แม่น้ำสงครามตอนบนส่วนที่ ๒ ห้วยโคน ห้วยคำมิต และแม่น้ำสงครามตอนบนส่วนที่ ๓ จำนวนประชากร ๔๗๔,๒๙๔ คน(เต็มพื้นที่)

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร

- ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค

- น้ำท่วม

- ดินเค็ม

๒๐. ลุ่มน้ำแม่น้ำสงครามตอนล่าง พื้นที่ลุ่มน้ำ ๓,๐๖๕.๖๐ ตร.กม. หรือ ๑,๙๑๖,๐๐๐.๙๖ ไร่

ขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำทิศเหนือจรดลำห้วยในลุ่มน้ำแม่น้ำโขงส่วนที่ ๗ ทิศตะวันออกจรดแม่น้ำโขง ทิศตะวันตกอยู่แนวบรรจบของห้วยคองกับแม่น้ำสงคราม ส่วนทางทิศใต้อยู่แนวบรรจบกับห้วยน้ำอูนกับแม่น้ำสงคราม พื้นที่ที่เป็นที่ราบถึงลาดชัน ถัดมาเป็นเนินลอนลูกคลื่นลาดชันพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้าหรือป่าไม้พุ่มเตี้ยสลับกับพืชไร่ ครอบคลุมพื้นที่ ๒ จังหวัด คือ สกลนคร นครพนม มีลุ่มน้ำสาขา ๖ ลุ่มน้ำ คือ ห้วยซาง แม่น้ำสงครามตอนล่างส่วนที่ ๑ ห้วยโนด แม่น้ำสงครามตอนล่างส่วนที่ ๒ ห้วยน้ำเมา และแม่น้ำสงครามตอนล่างส่วนที่ ๓ จำนวนประชากร ๒๙๔,๒๑๗ คน

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค

- น้ำท่วม

- ขาดการบริหารจัดการน้ำ

- ปัญหาทรัพยากรป่าไม้

๒๑. ลุ่มน้ำห้วยน้ำยาม พื้นที่ลุ่มน้ำ ๑,๗๓๐.๐๘ ตร.กม. หรือ ๑,๐๘๑,๒๙๘.๒๙ ไร่

ทางทิศเหนืออยู่บนแนวสันปันน้ำระหว่างลำน้ำสาขาของห้วยน้ำยามกับลำน้ำสาขาของแม่น้ำสงคราม และจุดบรรจบของห้วยน้ำยามกับแม่น้ำสงคราม ทิศตะวันออกอยู่บนแนวสันปันน้ำของห้วยน้ำยามกับห้วยน้ำอูน ทิศตะวันตกอยู่บนแนวสันปันน้ำของห้วยน้ำยามกับลำน้ำสาขาแม่น้ำสงคราม ทิศใต้อยู่บนแนวสันปันน้ำภูผาเหล็กและภูผาทอง ซึ่งเป็นแนวปันน้ำระหว่างลุ่มน้ำย่อยแม่น้ำสงครามตอนบน ลุ่มน้ำย่อยห้วยน้ำอูนและลุ่มน้ำย่อยห้วยน้ำยาม พื้นที่เป็นที่ราบสลับที่ดอน ครอบคลุมพื้นที่ ๒ จังหวัด คือ สกลนคร นครพนม มีลุ่มน้ำสาขา คือ ลำน้ำยามตอนบน ห้วยโทง ลำน้ำยามตอนล่าง จำนวนประชากร ๒๑๒,๑๔๖ คน

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค

- น้ำท่วม

- ตลิ่งพัง

- ปัญหาคุณภาพน้ำ

๒๒. ลุ่มน้ำห้วยน้ำอูน พื้นที่ลุ่มน้ำ ๓,๕๔๒.๘๙ ตร.กม. หรือ ๒,๒๑๔,๓๐๖.๔๓ ไร่

พื้นที่ทางทิศเหนืออยู่บนแนวสันปันน้ำห้วยน้ำอูนกับห้วยน้ำยาม และจุดบรรจบของห้วยน้ำอูนกับแม่น้ำสงคราม ทิศตะวันออกอยูบนแนวสันปันน้ำของห้วยน้ำอูนกับลำน้ำสาขาที่ไหลลงหนองหาน และห้วยน้ำอูนกับห้วยน้ำพุง ทิศตะวันออกอยู่บนแนวสันปันน้ำของภูผาทอง ซึ่งเป็นแนวสันแบ่งลุ่มน้ำย่อยแม่น้ำสงครามตอนบน ห้วยน้ำยาม และห้วยน้ำอูน ทิศใต้อยู่บนแนวสันปันน้ำตามแนวภูเขาก้อ ภูนางงอย ภูเขียว ครอบคลุมพื้นที่ ๒ จังหวัด คือ สกลนคร นครพนม มีลุ่มน้ำสาขา ๔ ลุ่มน้ำ คือ ลำน้ำอูนตอนบน ห้วยปลาหาง ลำน้ำอูนตอนกลาง และลำน้ำอูนตอนล่าง จำนวนประชากร ๔๐๐,๔๒๙ คน

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค

- น้ำท่วม

- ขาดการบริหารจัดการน้ำ

- ดินขาดคุณภาพ

๒๓. ลุ่มน้ำห้วยทวย พื้นที่ลุ่มน้ำ ๗๘๒.๖๔ ตร.กม. หรือ ๔๘๙,๑๔๘.๖๗ ไร่

มีลักษณะเป็นแนวแคบๆ ทางด้านเหนือสุดของภาคสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นติดกันจนถึงเนินเขา โดยมีกลุ่มหินชุดโคราชรองรับอยู่ ห้วยทวยมีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงบริเวณทางด้านทิศใต้ของ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนครไหลลงที่บริเวณบ้านปากทวย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ครอบคลุมพื้นที่ ๒ จังหวัด คือ สกลนคร นครพนมมีลุ่มน้ำสาขา ๒ ลุ่มน้ำ คือ ห้วยทวยตอนบน และห้วยทวยตอนล่าง จำนวนประชากร ๘๖,๗๓๑ คน

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค

- น้ำท่วม

- สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

- การเก็บกักน้ำเพื่อการใช้ประโยชน์ขาดประสิทธิภาพ

๒๔. ลุ่มน้ำแม่น้ำพุง พื้นที่ลุ่มน้ำ ๘๓๖.๕๔ ตร.กม. หรือ ๕๒๒,๘๓๗.๒๔ ไร่

มีแนวสันปันน้ำความสูงประมาณ ๓๐๐ – ๕๐๐ ม.รทก. เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างลุ่มน้ำย่อยน้ำพุงกับลุ่มน้ำย่อยห้วยน้ำอูน ลุ่มน้ำย่อยห้วยน้ำก่ำ และลุ่มน้ำย่อยห้วยบางทรายจังหวัดสกลนคร อยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของลุ่มน้ำเป็นต้นกำเนิดของลุ่มน้ำพุง พื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนเป็นภูเขาสูง ที่ลาดชันและลดหลั่นเป็นเนินสูง ตอนกลางถึงตอนล่างเป็นที่ราบถึงลูกคลื่นลอนลาด ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดสกลนคร มีลุ่มน้ำสาขา ๒ ลุ่มน้ำ คือ น้ำพุงตอนบน และน้ำพุงตอนล่าง จำนวนประชากร ๔๔,๒๗๘ คน

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค

- การบริหารจัดการน้ำไม่ดีพอ ใช้ประโยชน์ ไม่คุ้ม

๒๕. ลุ่มน้ำห้วยน้ำก่ำ พื้นที่ลุ่มน้ำ ๒,๖๗๘.๒๐ ตร.กม. หรือ ๑,๖๗๓,๘๗๗.๒๖ ไร่

มีแนวสันปันน้ำความสูงประมาณ ๓๐๐ ม.รทก. เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างลุ่มน้ำย่อยลำน้ำก่ำ กับลุ่มน้ำย่อยลำน้ำพุง ลุ่มน้ำย่อยแม่น้ำโขงส่วนที่ ๘ และลุ่มน้ำย่อยห้วยชะโนดในจังหวัดสกลนคร ทางทิศเหนือทิศตะวันตกของลุ่มน้ำเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำบังและน้ำก่ำ พื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนเป็นภูเขาสูงที่ลาดชันและลดหลั่นเป็นเนินสูง ตอนกลางเป็นที่ราบถึงลูกคลื่นลอนลาด ตอนล่างเป็นที่ที่ค่อนข้างราบถึงราบเรียบ ครอบคลุมพื้นที่ ๒ จังหวัด คือ สกลนคร นครพนม มีลุ่มน้ำสาขา ๖ ลุ่มน้ำ คือ ลำน้ำก่ำส่วนที่ ๑ ลำน้ำก่ำส่วนที่ ๒ น้ำบังตอนบน น้ำบังตอนล่าง ลำน้ำก่ำส่วนที่ ๓ และลำน้ำก่ำส่วนที่ ๔ จำนวนประชากร ๔๒๓,๖๖๔ คน

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค

- น้ำท่วม

- น้ำเสีย

- ปัญหาการจัดการน้ำ

๒๖. ลุ่มน้ำห้วยบางทราย พื้นที่ลุ่มน้ำ ๑,๓๙๘.๔๔ ตร.กม. หรือ ๘๗๔,๐๒๗.๓๑ ไร่

มีแนวสันปันน้ำความสูงประมาณ ๓๐๐ ม.รทก. เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างลุ่มน้ำย่อยห้วยบางทราย กับลุ่มน้ำย่อยลุ่มน้ำก่ำ ลุ่มน้ำย่อยห้วยชะโนด ลุ่มน้ำย่อยห้วยมุก ลุ่มน้ำย่อยห้วยบังอี่ ในจังหวัดมุกดาหาร ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของลุ่มน้ำเป็นต้นกำเนิดของห้วยบางทราย พื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนเป็นภูเขาสูง ที่ลาดชันและลดหลั่นเป็นเนินสูง ตอนกลางเป็นที่ราบถึงลูกคลื่นลอนลาด ตอนล่างเป็นที่ที่ค่อนข้างราบถึงราบเรียบ ครอบคลุมพื้นที่ ๓ จังหวัด คือ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร มีลุ่มน้ำสาขา ๔ ลุ่มน้ำ คือ ห้วยบางทรายส่วนที่ ๑ ห้วยบางทรายส่วนที่ ๒ ห้วยบางทรายส่วนที่ ๓ ห้วยบางทรายส่วนที่ ๔ จำนวนประชากร ๖๐,๘๗๓ คน

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค

- น้ำท่วม

- คุณภาพน้ำ

- แหล่งท่องเที่ยว น้ำขาดการดูแลรักษา

๒๗. ลุ่มน้ำห้วยมุก พื้นที่ลุ่มน้ำ ๗๙๗.๑๘ ตร.กม. หรือ ๔๙๘,๒๓๗.๗๓ ไร่

มีแนวสันปันน้ำทางทิศตะวันตก ความสูงประมาณ ๓๓๒ ม.รทก. เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างลุ่มน้ำย่อยห้วยมุกกับลุ่มน้ำย่อยห้วยบังอี่ ในจังหวัดมุกดาหาร เป็นต้นกำเนิดของลำน้ำห้วยมุก พื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนเป็นภูเขาสูง ที่ลาดชันและลดหลั่นเป็นเนินสูง ตอนกลางเป็นที่ราบถึงลูกคลื่นลอนลาด ตอนล่างเป็นที่ที่ค่อนข้างราบถึงราบเรียบ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร มีลุ่มน้ำสาขา ๒ ลุ่มน้ำ คือ ห้วยมุกตอนบน และห้วยมุกตอนล่าง จำนวนประชากร ๑๑๗,๔๖๘ คน



สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค

- น้ำท่วม

- คุณภาพน้ำ

- แหล่งท่องเที่ยว น้ำขาดการดูแลรักษา

๒๘. ลุ่มน้ำห้วยบังอี่ พื้นที่ลุ่มน้ำ ๑,๕๖๔.๔๒ ตร.กม. หรือ ๙๗๗,๗๖๑.๔๓ ไร่

มีแนวเทือกเขาความสูงประมาณ ๔๐๐ ม.รทก. เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างลุ่มน้ำย่อยห้วยบังอี่กับลุ่มน้ำย่อยห้วยบางทราย ลุ่มน้ำย่อยห้วยมุก และลุ่มน้ำย่อยแม่น้ำโขงตอนล่างในจังหวัดมุกดาหาร ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของลุ่มน้ำ เป็นต้นกำเนิดของห้วยบังอี่ พื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนเป็นภูเขา ที่ลาดชันและลดหลั่นเป็นเนินสูง ตอนกลางเป็นที่ราบถึงลูกคลื่นลอนลาด ตอนล่างเป็นที่ที่ค่อนข้างราบถึงราบเรียบ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร มีลุ่มน้ำสาขา ๓ ลุ่มน้ำ คือ ห้วยบังอี่ตอนบน ห้วยบังอี่ตอนกลาง และห้วยบังอี่ตอนล่าง จำนวนประชากร ๑๑๒,๘๓๔ คน

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค

- น้ำท่วม

- คุณภาพน้ำ

๒๙. ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง พื้นที่ลุ่มน้ำ ๓,๓๕๘.๖๘ ตร.กม. หรือ ๒,๐๙๙,๑๗๕.๘๖ ไร่

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีแนวเทือกเขาความสูงประมาณ ๕๐๐ ม.รทก. อยู่ทางทิศเหนือและ ทิศตะวันตกของลุ่มน้ำ และเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำโขงตอนล่างกับลุ่มน้ำสาขาห้วยบังอี่ โดยพาดยาวจากจังหวัดมุกดาหารถึงอุบลราชธานี พื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนเป็นภูเขาที่ลาดชันและลดหลั่นเป็นเนินสูงและเป็นต้นกำเนิดของห้วยบังอี่ ตอนกลางเป็นที่ราบถึง ลูกคลื่นลอนลาด ทางตอนล่างเป็นพื้นที่ค่อนข้างราบถึงราบเรียบ จำนวนประชากร ๒๓๕,๖๐๒ คน

สภาพปัญหา

- ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค

- น้ำท่วม

- คุณภาพน้ำ

หลักเกณฑ์และแนวทางการนำน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะไปใช้

สภาพปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำในปัจจุบัน

- ขาดแคลนน้ำ

- การแย่งชิงน้ำ

- การใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือยและขาดประสิทธิภาพ

- มลพิษทางน้ำ

- อุทกภัยและภัยแล้ง

ปัญหาการนำน้ำจากแหล่งธรรมชาติหรือแหล่งน้ำสาธารณะไปใช้ ในการอุปโภคบริโภค เกษตร อุตสาหกรรม พานิชยกรรม ท่องเที่ยวและกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ลุ่มน้ำและผู้ใช้น้ำในลุ่มน้ำมาก